สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องหาเอง เริ่มจากอาหาร สมุนไพรเป็นยา

สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องหาเอง เริ่มจากทำอาหารเป็นยา เลือกสมุนไพรเป็นอาหาร

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

อาหารเป็นยา สุขภาพดีด้วยสมุนไพรเป็นอาหาร


สุขภาพดีด้วย อาหารเป็นยา สมุนไพรเป็นอาหาร

(ตัวอย่างทำบล๊อค****เพื่อการให้ความรู้ ไม่ใช่เพื่อการค้า) 
อาหารเป็นยา “เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง และดูดีอยู่เสมอ  การดูแลสุขภาพจากภายในสู่ภายนอกอย่างครบทุกขั้นตอน จึงเป็นสิ่งจำเป็น 

              วิธีการดูแลสุขภาพกายและจิตใจที่ดี ให้สุขภาพแข็งแรง เราสามารถต่อสู้กับความเจ็บป่วยทางจิตใจด้วยตัวของเราได้ อย่างไร วิธีต่อไปนี้ช่วยได้

1 การแสดงออกที่ไม่ก้าวร้าว ไม่ต่อต้าน ทั้งกับครอบครัว เพื่อนร่วมงาน  สังคมชุมชน อย่ารอให้เกิดความกดดันและความโกธรสุดขีด จัดการกับความโกธรหรืออารมณ์ไม่ดีเสียก่อนที่จะเป็นเหตุให้คุณเครียด. รู้จักการใช้ทักษะการสื่อสารเชิงบวก เน้นผู้อื่นไม่เน้นที่ตัวเรา

2. การอยู่คนเดียวทุกวันอย่างน้อย 10 นาทีในห้องน้ำหรือการเดินสัก 20 นาที หรือออกกำลังกาย ใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมด้วยอาหารจิต  เช่น การทำสมาธิ การฝึกโยคะ การเดินจงกรม การฝึกไทเก๊ก  การฟังเสียงเพลงเบาๆ  สัมผัสกับธรรมชาติรอบตัวในเวลาที่จดจ่อกับกิจกรรมนั้นอย่างเต็มที่

3.  มองหาสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพจิต  ให้ความภายในมากกว่าภายนอก เช่น การแบ่งเวลาให้แก่คนที่รัก มีความสุขกับการดูพระอาทิตย์ตกหรือนอนอาบแดด หางานที่คุณรักและทำด้วยหัวใจที่มีความสุข

4.  แบ่งปันความคิดเห็น ความสุขและความเศร้า มีส่วนร่วมในสังคมบ้านพัก ที่ทำงาน กลุ่มลูกค้าอย่างฉันมิตร  การรับรู้กับความพอดี พอใจ พอเพียง  รู้จักการให้กับการรู้จักการรับ

5.  หลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต้อสุขภาพกายและจิต ที่ทำให้คุณรู้สึกเศร้า หรือท้อแท้ ไม่ว่าผลออกมาจะเป็นอย่างไร ให้ออกมาจากสถานการณ์ด้วยสติ

6.  ทำกิจกรรมทางร่างกายทุกๆ วันไม่ว่าจะเป็นการทำสวน การล้างรถ เดินหรือออกกำลังกาย การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ให้เห็นประโยชน์ว่ากิจกรรมเหล่านั้นช่วยปล่อยสารเอ้นเดอร์ฟินในร่างกายเพื่อทำให้รู้สึกดี มีความสุขแช่มชื่น

7.  จัดสรรเวลาแต่ละช่วงชีวิตร่วมกับคนรอบข้างที่คุณรัก คนใกล้ชิด เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน

8.  ให้ซื่อสัตย์และมีวินัยต่อตนเอง  มีมุมมองโลกในด้านบวกเสมอ เพื่อสร้างสมดุลชีวิตให้ได้ตลอดเวลามากที่สุดในหนึ่งวัน เพื่อเป็นการสะสมพลังงานบวกในร่างกายให้เข้มข้น และแข็งแรง อันเป็นการสร้างภูมิคุ้ม กันต่อสิ่งเร้าภายนอก หรือต่อสถานะการณ์บีบคั้น ให้ผ่านพ้นไปด้วยสติ และใช้ปัญญาในการแก้ไขได้ตลอดไป



       หาเวลาออกกำลังกายวันละ 30 นาที ขึินไป 

        
                                กำหนดสติในการดำเนินชีวิตทุกช่วงเวลาให้บ่่อยที่สุด เพื่อสร้างภูมิต้านทาน   
                                ด้วยความเบิกบานแจ่มใส ในทุกสถานะการณ์
                           อาหารเป็นยา เพื่อสุขภาพที่มีประโยชน์เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้กายไม่เจ็บป่วยในภายหน้าซึ่งการมีร่างกายที่แข็งแรงส่งผลให้จิตใจที่แข็งแรงตามมา ฉะนั้นการกินอาหารอย่างไรให้เป็นยาจึงเป็นเรื่อง จำเป็นและสำคัญต่อร่างกายและชีวต  ปัจจุบันมีหลักฐานพบว่าองค์ประกอบของอาหารบางชนิดไม่จัดเป็นสารอาหาร แต่อาจให้ประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ
              อาจารย์ศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนวิชาชีพประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ความรู้ว่าองค์ประกอบหลักในอาหารแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสารอาหาร และส่วนที่ไม่ใช่สารอาหาร องค์ ประกอบทั้งสองส่วนมีความสัมพันธ์ต่อการป้องกัน หรือช่วยส่งเสริมการรักษาโรคเรื้อรัง มองได้ถึงองค์ประกอบที่มีฤทธิ์ลดหรือป้องกันโรค

      แนวทางการพัฒนาอาหารฟังก์ชัน ก็มาจากแนวคิดของการใช้ อาหารเป็นยา (Food as medicine) ที่อาจให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าแค่สารอาหารหลักๆ ที่มีอยู่ รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางชนิด ปัจจุบันสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งสหรัฐอเมริกา (Academy of Nutrition and Dietetics หรือ AND) ได้ให้คำจำกัดความอาหารฟังก์ชันว่าเป็น 

      "อาหารธรรมชาติที่มีการแต่งเติมสารอาหารให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อเพิ่มประโยชน์ในกานส่งเสริมสุขภาพ เมื่อบริโภคเป็นส่วนหนึ่งของอาหารหลากหลายสม่ำเสมอในชีวิตประจำวันและบริโภคในปริมาณที่ เพียงพอ จะส่งผลดีต่อสุขภาพ"           

                                                                                                     Cr.โดย arphawan sopontammarak
   

           ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ ประธานวิชาการ ชมรมโภชนวิทยามหิดล ให้ข้อมูลว่า จากกระแสอาหารเพื่อสุขภาพนี้เองส่งผล ให้นักโภชนาการ นักกำหนดอาหาร นักวิทยาศาสตร์การอาหาร แพทย์ เภสัชกร พยาบาล และนักการตลาดทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร หันมาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ทำให้เกิด การค้นพบคุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของอาหารมากขึ้น
           ประโยชน์ของอาหารฟังก์ชัน คือ เป็นอาหารที่รับประทานร่วมกับมื้ออาหารได้ ให้ผลในการป้องกันโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันชะลอ           ความเสื่อมของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
          ตัวอย่างอาหารฟังก์ชันที่ได้รับความนิยม เช่น
           งา เป็นแหล่งของแคลเซียม และยังมีสารเซซามินซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในกระบวนการกำจัดสารพิษ

           พรุน นอกจากมีใยอาหารจำนวนมาก ยังมีกรดนีโอโคลโรเจนนิก และกรดโคลโรเจนนิก ซึ่งเป็นสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้อง กันโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งป้องกันกระดูกพรุนได้
           ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อย่างบิลเบอร์รี่ ที่มีสารออกฤทธิ์           ทางชีวภาพ คือ สารแอนโธไซยานินซึ่งเป็นสารที่มีสีแดงม่วงจนไปถึงน้ำเงิน มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูงช่วย             ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยป้องกันดวงตาจากการทำลายของอนุมูลอิสระ เป็นต้น

           น้ำมันปลา ประกอบด้วยกรดไขมัน ไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง หรือโอเมก้า-3 ที่สามารถลดระดับไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต ต้านการอักเสบ และช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
          โสม มีสารจินเซนโนไซด์ ที่ทำให้ร่างกายมีการปลดปล่อยพลัง งานมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยลดความเมื่อยล้า
          ส่วน ซุปไก่ ของชาวจีนที่ถูกแปรรูปไปเป็นซุปไก่สกัด ซึ่งให้โปรตีนและเปปไทด์รวมทั้งสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพอื่นๆ           บางชนิดที่ เกิดจากการตุ๋นซึ่งไม่พบในการกินเนื้อไก่โดยตรง       
     เห็ด  ทางการแพทย์ เช่น เห็ดไมตาเกะ เห็ดยามาบูชิตาเกะ เห็ดฮิเมะมัตสึทาเกะ  ถั่งเฉ้า  เห็ดหลินจือ หรือเรอิชิเห็ดชิตาเกะ และเห็ดแครง เป็นต้น ที่สำคัญเราต้องรับประทานอาหารหลักให้หลากหลาย ครบทุกหมู่ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส และพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อการมีสุขภาพที่ดี
                                                                                                                           
                                                                                           ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

               อย่าลืมว่า ให้ใช้ อาหารเป็นยา เกิดประสิทธิผลต่อสุขภาพดีที่สุดในการป้องกันโรคภัย  ดีกว่าทานยาเมื่อเจ็บป่วยแล้ว