สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องหาเอง เริ่มจากอาหาร สมุนไพรเป็นยา

สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องหาเอง เริ่มจากทำอาหารเป็นยา เลือกสมุนไพรเป็นอาหาร

วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2561





น้ำผึ้ง...ความหวานที่มากคุณค่า

น้ำผึ้งเป็นสารให้ความหวาน ชนิดแรกที่มนุษย์ใช้เป็นอาหาร ก่อนที่จะรู้จักน้ำตาลหรือสารให้รสหวานอื่นๆ และสรรพคุณของน้ำผึ้งก็ได้ถูกกล่าวถึงมาตั้งแต่ยุคโบราณแล้ว เช่น ชาวกรีกจะดื่มน้ำผึ้งก่อนลงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เพราะเชื่อว่าน้ำผึ้งช่วยขจัดความเมื่อยล้าได้ หรือการที่แพทย์ชาวอียิปต์โบราณใช้น้ำผึ้งช่วยสมานแผลในการผ่าตัดเพื่อฆ่าเชื้อโรค ก่อนที่เราจะรู้จักกับแบคทีเรียเสียอีก นอกจากนี้เรื่องราวของน้ำผึ้งยังปรากฏอยู่ในหลักฐานสำคัญต่างๆ ทั้งคัมภีร์ไบเบิล คัมภีร์อัลกุรอ่าน และพระไตรปิฎก พูดได้ว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน น้ำผึ้งนับเป็นหนึ่งในจำนวนไม่กี่สิ่งที่มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา ยอมรับว่าเป็น "ยาอายุวัฒนะขนานแท้" และเมื่อมีการศึกษาวิเคราะห์ถึงคุณประโยชน์ของน้ำผึ้งอย่างละเอียดตามหลักวิทยาศาสตร์ ก็พบว่าน้ำผึ้งสามารถรักษาโรคบางโรคได้ดีเยี่ยมอย่างน่าอัศจรรย์

ลักษณะของน้ำผึ้งที่ดี

น้ำผึ้งที่ขายกันทั่วไป หากไม่มีความรู้หรือไม่ช่างสังเกต ก็จะรู้สึกว่ามันก็คือ น้ำผึ้งเหมือนกันทุกขวด แต่ความจริงแล้วน้ำผึ้งก็มีเกรดหรือคุณภาพที่แตกต่างกันอยู่ น้ำผึ้งที่ดีจะต้องมีลักษณะข้นหนืด มีความใสหรือโปร่งแสง สะอาด ไม่มีตะกอนหรือสิ่งเจือปน ไม่มีไขผึ้ง ไม่มีฟอง ไม่มีกลิ่นบูดเปรี้ยว มีกลิ่นหอมเฉพาะของเกสรดอกไม้ที่ผึ้งไปดูดน้ำหวานมา เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบเกสรดอกไม้ปนอยู่หลายชนิด

การคัดเกรดน้ำผึ้งจะดูที่ความชื้นของน้ำผึ้ง ถ้าน้ำผึ้งมีความชื้น หรือน้ำปนอยู่น้อยกว่าร้อยละ ๒๑ แสดงว่า อยู่ในเกรดดี แต่ถ้ามีความชื้นมากกว่านี้ คุณภาพของน้ำผึ้งก็จะลดลง อย่างไรก็ตามราคาของน้ำผึ้ง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความชื้นเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำผึ้งด้วยว่ามาจากดอกไม้ชนิดใด ว่ากันว่าน้ำผึ้งที่ดีที่สุดคือ น้ำผึ้งที่ได้จากตัวผึ้งหลวง และต้องเป็นน้ำผึ้งเดือน ๕ ด้วยเหตุผลที่ว่า เดือน ๕ เป็นหน้าแล้งซึ่งฝนยังไม่ตก และเป็นช่วงที่ดอกไม้นานาชนิดกำลังบาน น้ำผึ้งที่ได้จึงเป็นน้ำผึ้งคุณภาพดี เพราะ มีความชื้นน้อย มีความเข้มข้นมาก แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นน้ำผึ้งจาก ผึ้งที่เลี้ยงไว้ ไม่ใช่ผึ้งป่าตามธรรมชาติ ซึ่งบ้างก็ว่าคุณภาพสู้น้ำผึ้งจากผึ้งหลวงไม่ได้ โดยทั่วไปน้ำผึ้งจะเก็บได้นานประมาณหนึ่งปีครึ่ง หากเก็บไว้นานกว่านี้ สี กลิ่น รส ก็จะเปลี่ยนไป ที่เห็นชัดคือน้ำผึ้งจะมีสีน้ำตาลเข้ม ยังไงๆ ของใหม่ๆ ก็ย่อมดีกว่าของเก่าเก็บนานอยู่แล้ว


สารอาหารในน้ำผึ้ง


Description: https://www.doctor.or.th/sites/default/files/290-004-pic1.jpgน้ำผึ้งได้ชื่อว่าเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนมากที่สุดชนิดหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาต่างรู้จักใช้ประโยชน์จากน้ำผึ้งมาตั้งแต่ยุคโบราณแล้ว และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน สารอาหารมากมายที่มีอยู่ในน้ำผึ้ง (ดูตารางที่ ๑) ที่สำคัญ เช่น

วิตามิน ในน้ำผึ้งมีวิตามินหลายชนิด ซึ่งปริมาณวิตามินในน้ำผึ้งแท้แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับที่มาของเกสรน้ำผึ้งหรือเกสรดอกไม้นั่นเอง
เกลือแร่ การเติมน้ำผึ้งแทนน้ำตาลลงในอาหารชนิดต่างๆ ซึ่งนอกจากจะได้ความหวานที่มีกลิ่นหอมแล้ว ยังเป็นการเพิ่มปริมาณเกลือแร่ที่จำเป็นให้กับร่างกายด้วย ปริมาณเกลือแร่เหล่านี้แม้จะมีไม่มากนัก แต่ก็อยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะกับที่ร่างกายต้องการ
ความชื้นหรือน้ำ ได้แก่ ความชื้นตามธรรมชาติของน้ำผึ้งที่เหลืออยู่ ภายหลังจากที่น้ำผึ้งได้เปลี่ยนน้ำหวานจากดอกไม้ให้เป็นน้ำผึ้งแล้ว น้ำผึ้งที่มีความชื้นเหมาะสมคือ น้ำผึ้งที่เหลือน้ำปนอยู่เพียงร้อยละ ๑๗-๑๘ ซึ่งจะทำให้น้ำผึ้งสามารถเก็บไว้ได้นานโดยเปลี่ยนแปลงสภาพเพียงเล็กน้อย
น้ำตาล ส่วนประกอบประมาณร้อยละ ๘๐-๘๕ ของน้ำผึ้งจะเป็นน้ำตาลชนิดต่างๆ เช่น น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (คือกลูโคส และฟรักโทส) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เด่นที่สุดของน้ำผึ้ง
 เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้น้ำผึ้งมีรสหวาน ซึ่งสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะใช้น้ำตาลกลุ่มนี้สร้างพลังงานให้กับร่างกาย น้ำตาลโมเลกุลคู่ (คือ มอลโทส ซูโครส และแล็กโทส) และน้ำตาลที่มีโมเลกุลซับซ้อน (เช่น เดกซ์โทรส) น้ำตาลเหล่านี้ทำให้น้ำผึ้งมีคุณสมบัติทางกายภาพหลายอย่าง เช่น ดูดซึมความชื้นจากบรรยากาศได้ หรือสามารถดูดซึมน้ำออกมาจากจุลินทรีย์จนหมด ทำให้เชื้อโรคต่างๆ ไม่สามารถ มีชีวิตอยู่ได้ภายใต้ความเข้มข้นของน้ำผึ้ง
น้ำตาลทั้งหมดข้างต้น เป็นน้ำตาลที่เป็นส่วนผสมขององค์ประกอบโดยธรรมชาติ แต่ถ้านำน้ำหวานหรือน้ำเชื่อมจากน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลปึก หรือน้ำตาลสังเคราะห์อื่นๆ
 
ไปละลายให้ผึ้งกิน จะไม่นับว่าเป็นส่วนของน้ำผึ้งโดยธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีข้อกำหนดว่า ในน้ำผึ้งแท้บริสุทธิ์จะมีน้ำตาลซูโครสได้ไม่เกินร้อยละ ๕-๘ โดยน้ำหนัก หากน้ำผึ้งมีปริมาณน้ำตาลซูโครสสูงกว่านี้ ถือว่าเป็นน้ำผึ้งผสมน้ำเชื่อม ไม่ใช่น้ำผึ้งบริสุทธิ์จากธรรมชาติ
กรด ถึงแม้น้ำผึ้งจะมีรสหวานนำ แต่ก็ซ่อนความเปรี้ยวของกรดต่างๆ เอาไว้หลายชนิด แต่ที่สำคัญคือ กรดกลูโคนิก ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำตาลกลูโคส รวมทั้งกรดอะมิโนที่สำคัญกลุ่มนี้ได้แก่ ไอโซลูซีน ลูซีน ไลซีน โพรลีน เมไทโอนีน เป็นต้น
เอนไซม์ คือ สารอินทรีย์ประเภทโปรตีนที่มีอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิต ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาต่างๆ ภายในเซลล์นั้นๆ เช่น เอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหาร เอนไซม์ที่สำคัญที่สุดที่พบในน้ำผึ้ง คือ เอนไซม์อินเวอร์เทส ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลซูโครสในน้ำหวานของดอกไม้ ให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและฟรักโทส และเอนไซม์กลูโคออกซิเดส จะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็น กรดกลูโคนิก ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ น้ำตาลกลูโคส นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์ อื่นๆ ที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโต และทำลายเชื้อโรคได้
เดกซ์โทรส คือสารประกอบที่มีโมเลกุลของกลูโคสต่อกันเป็นโซ่ยาว สารตัวนี้เป็นส่วนที่ทำให้ชุ่มคอ และให้ความชุ่มชื้นแก่เยื่อบุผิวต่างๆ
อินฮิบิน คือ ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อโรค การที่คนโบราณใช้น้ำผึ้งรักษาแผลสดและแก้อักเสบได้ผล ก็เพราะสารสำคัญตัวนี้นี่เอง

นอกจากวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ แล้ว น้ำผึ้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ (เช่น สารฟลาโวนอยด์ คาทาเลส อัลคาลอยด์) และสารอื่นๆ อีกหลายชนิดที่นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาทดลอง เพราะเชื่อว่าสารเหล่านี้มีส่วนในการกระตุ้นปฏิกิริยาทางชีวภาพ
 
เช่น ช่วยในการเจริญเติบโตของยีน เร่งน้ำย่อย ช่วยให้เจริญอาหาร และช่วยเสริมสุขภาพทั้งในยามปกติและยามเจ็บป่วย เป็นต้น



น้ำผึ้ง ในศาสตร์แพทย์จีน   : นพ.ภาสกิจ (วิทวัส) วัณนาวิบูล

คัมภีร์ "เสินหนงเปิ่นเฉ่าจิง" เมื่อ ๒
,๐๐๐ กว่าปีก่อน ได้บันทึกเกี่ยวกับคุณค่าของน้ำผึ้งต่อการป้องกันและชะลอความแก่ไว้ว่า "กินสม่ำเสมอจะเสริมสมอง ร่างกายจะเบาสบาย ไม่เหี่ยวย่น ไม่แก่ง่าย" ชาวอินเดียโบราณเชื่อว่า น้ำผึ้งมีคุณสมบัติในการรักษาและบำรุงร่างกายทำให้ไม่แก่ โดยเฉพาะการดื่มนมและกินน้ำผึ้งจะทำให้อายุยืนยาว ฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์เชื่อว่า การใช้น้ำผึ้งในการบริโภคกับอาหารมีส่วนสำคัญต่อการบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง ท่านมีอายุยืนยาวถึง ๑๐๗ ปี อย่างไรก็ตาม ในศาสตร์แพทย์จีนปัจจุบัน น้ำผึ้งถูกนำมาใช้เป็นยาในฐานะตัว ประกอบร่วมกับยาบำรุงอื่นๆ หรือเป็นตัวผสมประกอบการปรุงเป็นยาเม็ดสำเร็จรูปแบบต่างๆ ส่วนบทบาทเดี่ยวๆ ที่นำมาใช้กินเป็นอาหารหรือเป็นตัวหลักล้วนๆ ไม่ค่อยได้มีการพูดถึงนัก


 Cr. : ข้อมูลสื่อ นิตยสารหมอชาวบ้าน

 
 


"อาหารเป็นยา"  น้ำผึ้งคืออาหารเพื่อสุขภาพ ทานแต่พอเพียง

Fb. : SP-siripatt.Honey168 / @Honeygold168
https://web.facebook.com/honeygold168/?_rdc=1&_rdr


ถามหา อย.ได้ อย.  น้ำผึ้ง100% ตราแสงผึ้ง ที่จับต้องได้แน่นอน
สอบถามปรึกษา ที่   ID Line : siripon561 หรือ 0647895693







วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560



มารู้จักเห็ดร่างแห หรือเห็ดเยื่อไผ่กันเถอะ
                  เมื่อพูดถึงอาหารที่เราเคยรับประทาน หลายคนคงรู้จักหรือเคยได้ยินเมนู เยื่อไผ่ตุ๋นยาจีน แกงจืด   เยื่อไผ่ ผัดเยื่อไผ่ (ภาพที่ 1) แล้วรู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ว เมนูเยื่อไผ่ต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับต้นไผ่ หรือนำส่วนประกอบของต้นไผ่มาใช้ แต่ทำมาจากเห็ดชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า เห็ดร่างแหหรือเห็ดเยื่อไผ่นั่นเอง




แหล่งที่พบเห็ดร่างแหในประเทศไทย

            เห็ดร่างแหมักพบในบริเวณที่มีซากพืชทับถมหนา มีอินทรียวัตถุและความชื้นสูง เช่น สวนมะพร้าว สวนมะม่วง ป่าไผ่ สวนยางพารา เป็นต้น ในประเทศไทยพบเห็ดร่างแหได้เกือบทุกภูมิภาค เช่น ภาคเหนือพบบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่  ภาคตะวันออกพบบริเวณเขาอ่างฤาไน อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ภาคใต้พบบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้างจังหวัดสงขลา และบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสมเด็จพระเทพฯ (ป่าพรุโต๊ะแดง/ป่าพรุสิรินธร) จังหวัดนราธิวาส

ประโยชน์ของเห็ดร่างแห
             เห็ดดำรงชีวิตเป็นผู้สลายสารอินทรีย์ในระบบนิเวศ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์ สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม และเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตอื่น สำหรับเห็ดร่างแหเป็นสินค้าที่ตลาดมีความต้องการสูง มีราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันมีการนำเห็ดร่างแหมาใช้รับประทานทั้งในรูปของเห็ดร่างแหสดและเห็ดร่างแหแห้ง โดยเฉพาะในประเทศจีนมีการนำเห็ดร่างแหมาผลิตเป็นสินค้าผสมในยา หรือทำเป็นเห็ดร่างแหตากแห้ง เรียกว่า เยื่อไผ่  (ภาพที่ 3) ส่วนในประเทศไทยเห็ดร่างแหที่นิยมนำมาทำเป็นอาหารมีเพียง 2 ชนิด คือ เห็ดร่างแหกระโปรงยาวสีขาว และเห็ดร่างแหกระโปรงสั้นสีขาว  โดยการแปรรูปเห็ดร่างแหสดเป็นเห็ดร่างแหแห้ง แล้วนำเอาส่วนที่เป็นก้านสีขาวมาประกอบอาหาร (ภาพที่ 4)




         เห็ดร่างแหหรือเห็ดเยื่อไผ่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเห็ดเยื่อไผ่แห้งประกอบด้วยโปรตีน ลิพิด คาร์โบไฮเดรต รวมถึงวิตามินอีกด้วย แต่ทั้งนี้ไม่ควรบริโภคเห็ดเยื่อไผ่แห้งมากเกินไปเพราะในกระบวนการ แปรรูปให้เป็นเยื่อไผ่แห้งนั้นมีการใช้สารฟอกขาว ถ้าบริโภคมากเกินไปอาจมีการตกค้างของสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีการศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยงเห็ดร่างแห และได้มีการส่งเสริมให้กับผู้ที่สนใจในการเพาะเห็ดร่างแหด้วย
 

เอกสารอ้างอิง

1.   ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ. 2552. เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 156 หน้า.
2.   ไพรินทร์ กปิลานนท์ สุริยา ฤธาทิพย์ และปกขวัญ หุตางกูร. ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงเส้นใยเห็ดร่างแหกระโปรงสั้น (Dictyophora duplicata Fisch.) ในอาหารเหลว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 43(2)(พิเศษ): 69:72 (2555)
3.   Anong Chandrasrikul et al. 2011.Checklist of Mushrooms (Basidiomycetes) in Thailand. 1st ed. Office of Natural Resource and Environmental Policy and Planning (ONEP), Thailand. 448 p.
4.   ศิริบุญ พูลสวัสดิ์.เยื่อไผ่ที่กินได้. (Online) Available : http://siweb.dss.go.th/dss_doc/fulltext/radio/R56.pdf (Retrieved 12/09/2014)

5.   อานนท์ เอื้อตระกูล. เห็ดเยื่อไผ่ เห็ดเศรษฐกิจตัวใหม่ที่สำคัญของไทย. (Online) Available : http://www.anonbiotec.com/Bamboomushroom.html (Retrieved 1/09/2014)

 

เขียนโดย biology เมื่อ January 5, 2015. หัวข้อ Uncategorized, บทความปี 2557
Cr. วิลาส รัตนานุกูล นักวิชาการสาขาชีววิทยา
   

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559

วันนี้ ดื่มน้ำมะนาวรึยัง

(มะนาว) (มะนาว) (มะนาว) (มะนาว) (มะนาว) : อาหารเป็นยา
ที่บ้าน ท่านปลูก มะนาวหรือยัง
ศ.นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ อดีตคณบดีเเพทย์ศิริราช.ได้แนะวิธีทำน้ำด่างทานง่ายๆ (น้ำมะนาวแช่ใส่น้ำเย็น/โซดา )  ตัดชิ้นบางๆของมะนาว🍋ใส่ในแก้ว(มะนาว)หรือโถ แล้วดื่มมันจะกลายเป็นน้ำที่มีความเป็นด่างสูงมาก  
 เชื้อโรคในร่างกายไม่สามารถเติบโตในสภาพที่มีความเป็นด่าง

       ดังนั้น การทานน้ำด่างทุกวัน จึงช่วยทำลายเชื้อโรค  ดื่มน้ำด่างจะทำให้มีสุขภาพดีขึ้นมาก


สถาบันทางวิทยาศาตร์อนามัย ระบุว่า นี่คือยาที่มีผลต่อมะเร็งดีเยี่ยมล่าสุดของโลก มะนาว มะนาวมะนาว เป็นผลไม้ที่มหัศจรรย์มากที่สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้เป็น 1หมื่นเท่ามากกว่า-เคโมเทอราฟี ..    ทำไมเราไม่รู้เรื่องนี้เลย เพราะว่า ปฏิบัติการห้องแล็บส่วนใหญ่นั้นไม่ยอมพูดเรื่องนี้ เพราะมันจะทำให้สูญเสียผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ไป
      เราท่านทั้งหลายสามารถช่วยเพื่อนท่านได้ ในการบอก ให้เขาหรือเธอเหล่านั้น ว่า (มะนาว) น้ำมะนาว นั้น มีประโยชน์ยิ่งในการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ มีรสชาติที่ดี และไม่มีผลข้างเคียงเหมือนการฉีดคีโมฯ คนมากมายอาจตายในขณะที่ความลับที่ป้องกันมะเร็งนี้ได้ถูกเก็บงำเอาไว้ เพื่อไม่ให้ต้องการทำลายผลประโยชน์ นับล้านๆ ของบริษัทยาใหญ่ๆ
ทราบไหมว่า (มะนาวแป้น มะนาวทุกชนิด) ท่านจะกินมะนาวเหล่านี้ในวิธีต่างๆก็ได้ เช่น กินเปลือก กินน้ำ หรือคั้น หรือเตรียมเป็นเครื่องดื่มใดๆ ก็ตาม แต่ที่เราชอบ และมันทำได้หลายอย่าง แต่ถ้าดื่มน้ำ(มะนาว)มะนาวผสมกับโซดาจะทำให้น้ำมะนาว ดูดซึมเข้าร่างกายได้ดียิ่งขึ้น ที่น่าสนใจ คือ มันขจัด ซีสต์ได้ (ก้อนเนื้อร้าย) ..
ผลไม้ชนิดนี้ พิสูจน์แล้วว่า สามารถต่อต้านมะเร็งได้ อย่างดีเยี่ยม มีคนกล่าวไว้ว่า
(มะนาว)  มันมีผลประโยชน์ในการกำจัดมะเร็งหลายชนิด
(มะนาว)  ป้องกันการอักเสบของเชื้อแบตทีเรีย เชื้อราได้
(มะนาว)  สามารถที่จะต่อต้านพาราไซส์ที่อยู่ข้างใน
(มะนาว)  ทำให้เกร็ดลือดที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป  เข้าสู่ภาวะปกติ
(มะนาว)  ทำให้คลายเครียด
(มะนาว)  ต่อต้านโรคประสาท
(มะนาว)  ป้องกันโรคฟุ้งซ่าน
        ข่าวสารเรื่องนี้ มาจากบริษัทผลิตยาขนาดใหญ่มากกว่า 20 บริษัทในโลกได้ทำการทดลองเรื่องนี้ผลการทดลองเปิดเผยออกมาได้ว่า (มะนาว) มะนาวสามารถทำลาย มะเร็งเนื้อร้ายที่รุนแรงได้ถึง 12 ชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
- มะเร็งลำไส้เล็ก
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งต่อมลูกหมาก
- มะเร็งปอด
- มะเร็งตับอ่อน

(มะนาว)ส่วนผสมของไซทัสหรือมะนาว มีความสามารถในการทำลายมะเร็งได้มากกว่ายาที่ใช้การทำคีโมทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งหยุดอยู่กับที่(คงที่)    นอกจากนี้มันยังเป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจมากในการรักษาด้วยมะนาวนี้ สามารถทำลายต่อต้านมะเร็งได้อย่างรุนแรงโดยไม่มีผลข้างเคียง  มาดื่มน้ำมะนาวกันเถอะ ด้วยการปลูกมะนาวที่บ้านคนละต้น
CR. คอลัมน์: บทความพิเศษ  นักเขียนหมอชาวบ้าน: รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ
การใช้งานทางยา
เปลือกผล
เปลือกผลแห้งมีรสขม ช่วยขับลมได้ดี รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด นำเอาเปลือก ของผลสดมาประมาณครึ่งผล คลึงหรือทุบเล็กน้อยพอให้น้ำมันออก ฝานเป็นชั้นบางๆ ชงกับน้ำร้อนดื่มเวลามีอาการหรือหลังอาหาร 3 เวลา

น้ำคั้นผลมะนาว ใช้แก้ไอขับเสมหะ เนื่องจากกรดที่มีอยู่ในน้ำมะนาวกระตุ้นให้มีการขับน้ำลายออกมา ทำให้เกิดการชุ่มคอจึงลดอาการไอลงได้ ใช้ผลสดคั้นน้ำได้น้ำมะนาวเข้มข้น
  ใส่เกลือเล็กน้อย (หรือผสมน้ำผึ้ง 1 ส่วนน้ำมะนาว 3 ส่วน) แล้วจิบบ่อยๆ หรือจะทำเป็นน้ำมะนาวใส่เกลือและน้ำตาล ปรุงรส ให้เข้มข้นพอประมาณดื่มบ่อยๆ

ชาวฮังการีชงชาเติมน้ำผึ้งบีบมะนาว จิบแก้ไอ
เช้าหลังตื่นนอน ดื่มน้ำอุ่น 1 แก้ว บีบมะนาว 1/4 ผล (หรือใส่เกลือเล็กน้อย) บรรเทาอาการท้องผูก และช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

น้ำมะนาวใช้ในด้านความงาม ผลัดเซลล์ผิว ลดรอยด่างดำ ใช้น้ำมะนาว
 1 ช้อนชา ผสมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน ทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้สักครู่ ล้างออกด้วยน้ำสะอาดแล้วซับให้แห้ง ทำสัปดาห์ละครั้ง ผิวหน้าจะดูสดใส หรือใช้น้ำมะนาวผสมน้ำแช่อาบ

น้ำมะนาวผสมผงกำมะถัน ใช้ทาก่อนนอน แก้อาการกลาก เกลื้อน หิด
ใช้น้ำมะนาวทาที่ตุ่มคัน ทิ้งไว้ให้แห้ง ล้างน้ำสบู่แล้วเช็ดให้แห้ง แล้วใช้แป้งทาตุ่มคัน แก้น้ำกัดเท้า

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์
สารดี-ลิโมนิน (
d-limonin) เป็นสารที่ทำให้เกิดความขมในน้ำมะนาว น้ำมันผิวมะนาว (lime oil) พบมากบริเวณผิวเปลือกมะนาวมีสารดี-ลิโมนิน เป็นองค์ประกอบหลักเกินกว่าร้อยละ 90 พบว่าน้ำมันผิวมะนาว มีคุณสมบัติป้องกันและรักษามะเร็งหลายชนิด
ชาวตะวันตกทั่วไปมักดื่มน้ำส้ม หรือน้ำจากผลพืชตระกูลส้ม เช่น ส้มโอ หรือมะนาว ประกอบกับอาหารเช้า น้ำผลไม้เหล่านี้มีวิตามินซี และมีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (
flavonoid) ประกอบด้วยสารเฮสเพอริดิน (hesperidin) รูทิน (rutin) และนาริงจิน (naringin) และลิโมนิน เป็นฟลาโวนอยด์หลักของพืชตระกูลส้ม จากนี้จะเรียกสารกลุ่มนี้ว่าฟลาโวนอยด์ส้ม (citrus bioflavonoid)

สารกลุ่มฟลาโวนอย์ส้มนี้มีรายงานทางการแพทย์ตะวันตกว่าใช้ในการรักษามาลาเรีย โรครูมาติสม์เรื้อรังและโรคเกาต์ ใช้ในการป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ป้องกันการตกเลือดหลังคลอด และช่วยบรรเทาอาการระคายคอจากการติดเชื้อ

การกินฟลาโวนอยด์ส้มทำได้โดยกินส้ม ส้มโอ บีบมะนาวใส่เครื่องดื่ม และดื่มน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสด ถ้ากินผิวมะนาว ผิวส้มหรือเครื่องดื่มผิวมะนาวและส้มจะได้ฟลาโวนอยด์ส้มในปริมาณที่มากขึ้น

รักษาสมรรถนะร่างกาย
การศึกษาทางคลินิกตลอดปี พ.ศ.2505 พบว่านักกีฬายูโด ฟุตบอล บาสเก็ตบอล และกรีฑาที่ได้รับสารฟลาโวนอยด์ส้มติดต่อกันมีอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อน้อยกว่า ถ้าบาดเจ็บก็ฟื้นตัวได้เร็วกว่า 2 เท่า
นอกจากนี้ การวิจัยทางคลินิกกับบุคคลที่มีปัญหาการไหลเวียนเลือด พบว่าบุคคลที่ได้รับฟลาโวนอยด์ส้มวันละ 1 กรัมติดต่อกัน 8 สัปดาห์มีการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น มีแรงกว่าเดิม มีอาการปวดน้อยและมีอาการเหน็บชากลางคืนน้อยลง

ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
การแพทย์แผนจีนใช้มะนาวแห้งเป็นตัวยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดมานานแล้ว

อิตาลี
การศึกษาสัตว์ทดลองในหนู พบว่าเมื่อให้สารเฮสเพอริดินซึ่งเป็นฟลาโวนอยด์หลักจากเปลือกในพืชตระกูลส้มกับหนูไขมันสูง มีผลเพิ่มไขมันที่ดี (เอชดีแอล-คอเลสเตอรอล) ลดไขมันไม่ดี (แอลดีแอล-คอเลสเตอรอล) ลดปริมาณไขมันรวมและไตรกลีเซอไรด์ ในหนูดังกล่าว และมีผลลดความดันเลือดและขับปัสสาวะในหนูความดันสูง

สหรัฐอเมริกา
งานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า ฟลาโวนอยด์ส้มสองกลุ่ม ได้แก่กลุ่มเฮสเพอริดิน และกลุ่มโพลีเมททอกซิเลตฟลาโวน (
PMFs) มีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในพลาสม่าของสัตว์ทดลอง ซึ่งสนับสนุนผลของงานวิจัยในหนูถีบจักรของแคนาดา

แคนาดา
การทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า ฤทธิ์ดังกล่าวของฟลาโวนอยด์ส้มเกิดจากผลการกระตุ้นการทำงานของยีนรีเซปเตอร์ไขมันไม่ดี (แอลดีแอล) ในตับ ณ ตำแหน่งที่ควบคุมโดยสเตอรอล (
sterol regulatory element, SRE)

สาธารณรัฐประชาชนจีน งานวิจัยพบว่า นาริงจิน และเฮสเพอริดินซึ่งเป็นฟลาโวนอยด์ส้มมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของยีนอะดีโพเนกทิน (
adiponectin) ซึ่งเป็นยีนสำคัญในเมตาบอลิซึมของกลูโคสและไขมันที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลัคอุดตันของหลอดเลือดและกระบวนการอักเสบ ผลการศึกษากล่าวว่าฟลาโวนอยด์ส้มทั้ง 2 ชนิดแสดงผลต้านการเกิดพลัคโดยกระตุ้น perovisome proliferator-activated receptor (PPAR) และยีนอะดีโพเนกทินในเซลล์ไขมันอะดีโพไซต์

นอกจากนี้ สารทั้งสองยังมีฤทธิ์เอสโทรเจนอย่างอ่อน มีผลต่อการสร้างไนตริกออกไซด์ในเซลล์ผนังหลอดเลือดผ่านการกระตุ้นรีเซปเตอร์ของเอสโทรเจน จึงมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นเหตุให้สนับสนุนการกินมะนาว และฟลาโวนอยด์ส้มเพื่อลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงวัยทอง

กระตุ้นภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็ง 
อิหร่าน งานวิจัยพบว่า น้ำมะนาวเข้มข้น (concentrated lime juice, CLJ) มีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์โมโนนิวเคลียร์ในระบบภูมิคุ้มกัน และโปรตีนในน้ำมะนาวเข้มข้นมีฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง
การศึกษาในห้องทดลองในมลรัฐเท็กซัสและแคลิฟอเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ส้มมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นพอประมาณ แต่ต่ำกว่าฟลาโวนอยด์ในพืชตระกูลขิง
มีบทความทางการแพทย์กล่าวว่า ฟลาโวนอยด์ส้มยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ปอด ช่องปาก กระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านมจากการทดลองในห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลองหลายชนิด แต่ยังไม่พบผลการศึกษาทางคลินิก


แปลกใจจริงนะ
เจ้าผลไม้พื้นๆ เรียกมะนาวนี้มีคุณค่าซ่อนไว้อย่างไม่คาดคิด เมื่อทราบเช่นนี้คงจะต้องไปลองกินไก่ตุ๋นมะนาวดอง จะได้ฟลาโวนอยด์ส้มจากเปลือกของมะนาวด้วย แล้วเพิ่มการดื่มน้ำมะนาว (ชนิดหวานน้อย) แทนน้ำอัดลม เพื่อสุขภาพที่ดีและหลอดเลือดที่แข็งแรงนะคะ


ข้อมูลสื่อ ชื่อไฟล์: 354-009
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 354  เดือน/ปี: ตุลาคม 2551
CR. คอลัมน์: บทความพิเศษ  นักเขียนหมอชาวบ้าน: รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ
ส่งให้คนที่รักนะ แต่ถึงเกลียดก็ส่งเถอะได้บุญใหญ่หลวงนะ

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559



ตามหลักโภชนาการ สารหลักในอาหารมี 4 หมู่ คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต หรือแป้ง ข้าว ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ แต่สารเหล่านี้เป็นเพียงชื่อ และคุณสมบัติ ของสารอาหารในทางวิทยาศาสตร์ ในชีวิตประจำวัน เราไม่สามารถหาสารอาหารที่เป็น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต หรือไขมันที่บริสุทธิ์ล้วนๆ มากินได้ เพราะอาหาร เป็นส่วนผสมของสารอาหารเหล่านี้ และมีสารประกอบ อีกมากมาย และยังไม่มีอาหารใด ที่มีสารอาหารครบสมบูรณ์อย่างจริงๆ ในตัวของมันเอง ในการกินอาหารทั่วไป หรือกินอาหารมังสวิรัติ-เจ เราควรจะได้รับสารอาหารหลักครบ และสมดุลเป็นประจำ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกินอาหารหลักหลายหมู่ หลายชนิดเพื่อให้ได้รับสารอาหารให้ครบถ้วน และพอดีตามความต้องการของร่างกาย

 

เมื่อเอ่ยถึงอาหารหลัก คนส่วนมากมักนึกถึงโปรตีน และวิตามิน เข้าใจผิดคิดว่าสารอาหารนี้มีแต่ใน เนื้อ นม ไข่ ขนมปังทาเนย เท่านั้น และมักเข้าใจผิดว่าไขมันคือน้ำมันพืช และไขมันสัตว์ รวมทั้งคิดว่า วิตามินและเกลือแร่ คือวิตามินและแร่ธาตุ ในเม็ดยาและแคปซูล จากร้านขายยา หรือจากตัวแทน ขายสินค้าขายตรง (Direct sale) น้อยคนนักที่จะเข้าใจถูก นึกถึงความสำคัญของอาหารที่เป็นผักและผลไม้ คนส่วนใหญ่จึงเสาะแสวงหา ซื้ออาหารฝรั่ง และอาหารสำเร็จรูปดังกล่าว ควักอัฐมาซื้อกินกันอย่างเต็มที่ บางคนกินสิ่งที่ตนเองชอบและคิดว่าดีแล้ว อย่างไม่จำกัด ส่งผลให้สุขภาพอ่อนแอลง ล้มป่วยและเป็นโรค นี่เป็นความผิดพลาดทางโภชนาการอันใหญ่หลวงของมนุษย์ ในศตวรรษที่ผ่านมา เพราะเป็นยุคที่เราเห่ออาหารฝรั่ง อเมริกัน หรืออาหารตะวันตก ซึ่งเป็นสินค้าข้ามชาติ ฝรั่งเขาปรุงรสชาติอาหารให้มีรสอร่อย ติดใจ และกินง่าย ให้เป็นอาหารจานด่วนหรือฟาสต์ฟู้ด (fast food) ซึ่งนำไปสู่โรคร้ายเรื้อรังอย่างรวดเร็ว เช่น โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง เป็นต้น ถ้าเป็นเช่นนี้ฟาสต์ฟู้ดก็จะกลายเป็น ฟาสต์ฟุบ ของคนอเมริกัน ไปในที่สุด
 


 

 จากงานวิจัยมากมาย นักสุขภาพทางโภชนาการพบว่าอาหารหลักเพื่อสุขภาพที่แท้จริง มิใช่อาหาร พวกเนื้อ นม ไข่ ไอศกรีม ดังกล่าวแต่ประการใด แต่อาหารสุขภาพ ๔ หมู่ คือ ๑. ข้าวและเมล็ดธัญพืช ๒. ถั่ว ๓. ผัก ๔. ผลไม้ พูดง่ายๆ คือ กินอาหารประเภทข้าว ธัญพืชเป็นหลัก กินพืชผักผลไม้เป็นพื้น กินสิ่งอื่นๆ เช่น ถั่ว งา เป็นรอง นอกนั้นอาจจะกินอาหารว่างเป็นของแถมเล็กน้อย เช่น ขนมนมเนย ของหวาน และของหมักดองบ้างคงไม่เป็นไร แต่ควรจำกัดมิให้กินมากเกินไป กินแล้วต้องไม่เป็นพิษต่อสุขภาพด้วย นักวิจัยรู้ดีว่าในอดีตนโยบายด้านสุขภาพ ทางโภชนาการมีความผิดพลาด จึงมีการประชุม และแนะนำให้รัฐบาล ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคของประชาชนเสียใหม่ให้ถูกต้อง กลับฐานปิรามิดอาหารหลัก ให้เป็นปิรามิดอาหารสุขภาพใหม่ที่ดีกว่า

 
Cr. posted on 11 Feb 2011 00:57 by nojunkfood






วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

น้ำมะพ้าว กับอายุรเวช และโรคหัวใจ เกี่ยวกันยังไง


          ในทางอายุรเวช  น้ำมะพร้าว ถือเป็นน้ำบริสุทธิ์ ที่ช่วยในการักษาและมีคุณสมบัติเป็นธาตุเย็น  ช่วยล้างพิษ ดูดซับและขับของเสียออกจากร่างกายทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสวยสดใส ถือว่าน้ำมะพร้าวเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะมีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการครบถ้วน มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  ส่วนเนื้อมะพร้าวอ่อนและแก่ ได้รับการยืนยันในทางการแพทย์ว่าช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งหลายคนจะเข้าใจผิดว่าเนื้อมะพร้าวและกะทิจะทำลายสุขภาพ ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะในเนื้อมะพร้าวมีไขมันเชิงเดี่ยวเผาผลาญได้ง่าย ทำให้ร่างกายได้ใช้พลังงานในการเผาผลาญจึงถือได้ว่า ช่วยลดความอ้วนได้อีกทางหนึ่งด้วย 

น้ำมะพร้าวอ่อน เรารู้จักกันดีว่ามีรสชาติหอมหวาน นอกจากจะใช้ดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกายแล้ว ทราบหรือไม่ว่าน้ำมะพร้าวอ่อนยังสามารถดื่มเพื่อทดแทนเกลือแร่เวลาที่เราสูญเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย หรือขาดเกลือแร่เนื่องจากอาการท้องเสียได้ดีอีกด้วย

น้ำมะพร้าว" ถือ เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่จากธรรมชาติ เพราะต้นมะพร้าวมีลำต้นสูง ต้องผ่านการกลั่นกรองตามชั้นต่างๆ ของลำต้นกว่าจะถึงลูกมะพร้าวที่อยู่ข้างบนน้ำมะพร้าวที่ได้มาจึงบริสุทธิ์มาก และอุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิดเช่น โพแทสเซียมเหล็ก โซเดียมแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง กรดอะมิโน กรดอินทรีย์และวิตามินบี แถมย ังมีน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ภายใน นาที และยังเป็นประโยชน์ในการขับสารพิษและชำระล้างร่างกายด้วย

ดื่มน้ำมะพร้าวช่วงท้อง ดีจริงหรือ
           ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จะได้รายชื่อสารพัดอาหารบํารุงครรภ์ จากทุกสารทิศ หนึ่งในนั้นหนีไม่พ้น น้ำมะพร้าว เรียกว่าเป็นเครื่องดื่มสําหรับคนท้องเลยก็ว่าได้ ด้วยสรรพคุณที่ได้ยินกันมาว่า เป็นน้ำที่สะอาด ดื่มเข้าไปแล้ว จะทําให้เด็กในท้อง ตัวสะอาด คลอดออกมาแล้วลูกจะผิวสะอาด ไม่มีไขมันติดตามตัวค่ะ

ดื่มน้ำมะพร้าว ลูกในท้องตัวสะอาด 
           จากการสอบถาม นพ.อนันต์ โลหะพัฒนะบํารุง กุมารแพทย์ คุณหมอได้ให้ความเห็นในเรื่องน้ำมะพร้าวว่า ในน้ำมะพร้าวมีกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันอิ่มตัวก็มี มีทั้งสองอย่าง ซึ่งเป็นข้อดี เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ดื่มน้ำมะพร้าว จะทําให้การสร้างไขตัวเด็กได้สีค่อนข้างขาว เลยอาจจะดูว่าเด็กออกมาตัวสะอาด คงไม่ใช่ออกมาแล้วเด็กไม่มีไข"
           จริงๆ แล้วไขตัวเด็กนี้มีประโยชน์มาก เพราะจะทําให้เด็กคลอดง่าย ฉะนั้นคุณแม่ที่ดื่มน้ำมะพร้าวบ่อยๆ อาจจะทําให้ไขตัวเด็กมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพียงแต่สีจะสะอาด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอะไร เนื่องจากเป็นธรรมชาติที่เด็กต้องมีไขมันห่อหุ้มตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจากอุณหภูมิจากภายนอกด้วย

ในน้ำมะพร้าวมีอะไรบ้าง?
            เอ่ยถึงในแง่ธรรมชาติบําบัด น้ำมะพร้าว เป็นน้ำผลไม้ที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะมีแร่ธาตุสําคัญต่อร่างกาย ได้แก่ โปรตีน น้ำตาล แคลเซียม โปรแตสเซียม ฟอสฟอรัส และไขมันที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย แถมน้ำมะพร้าว ยังเป็นน้ำผลไม้ที่ไม่เหมือนใครตรงที่ มะพร้าวมีลําต้นสูง กว่าต้นมะพร้าวน้ำจะออกดอกเป็นผล มีน้ำให้ได้ดื่มกัน ต้องผ่านการกลั่นกรองตามชั้นต่างๆ มาแล้ว คนไทยจึงถือว่า
 น้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์มาก 
ประโยชน์มากมาย
           
น้ำมะพร้าว สามารถดื่มเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้นิ่ว บํารุงเส้นเอ็น บํารุงกระดูก มีฤทธิ์เป็นกลาง สามารถขับพยาธิ ร่างกายสามารถดูดซึมกลูโคสจากน้ำมะพร้าวไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ทําให้ร่างกายสดชื่น (ใครชื่นชอบน้ำอัดลมเพื่อดับกระหาย ลองเปลี่ยนเป็นน้ำมะพร้าวเย็นๆ สักแก้ว)
            อาหารทุกชนิดถึงแม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ต้องมีข้อยกเว้น อย่าง
คนเป็นโรคไต โรคเบาหวานไม่ควรดื่มมาก และการซื้อน้ำมะพร้าวดื่ม ควรเลือกน้ำมะพร้าวอ่อนเป็นลูก ไม่ควรซื้อที่บรรจุขวดขาย ถ้าไม่แน่ใจในความสะอาด และสารฟอกขาวต่างๆ ที่สามารถฉีดใส่เข้าไปได้ (ส่วนมากพบในมะพร้าวเผา)

น้ำมะพร้าวช่วยชะลออาการอัลไซเมอร์
            การดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันจะช่วยชะลออาการอัลไซเมอร์ได้ จากผลงานวิจัยของดร.นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า ในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจนสูงซึ่งมีผลช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง นอกจากนี้ การดื่มน้ำมะพร้าวเป็นประจำทุกวันยังสามารถช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าปกติ
และไม่ทิ้งรอยแผลเป็นอีกด้วย

น้ำมะพร้าวช่วยให้ผิวพรรณสดใส
            น้ำมะพร้าวสามารถช่วยเสริมสร้างความสวยใสของผิวพรรณ ทำให้เปล่งปลั่งและขาวนวลขึ้นจากภายในสู่ภายนอกเพราะในน้ำมะพร้าวมีเอสโตรเจนอยู่ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินทำให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ และในน้ำมะพร้าวยังสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ได้ดีแถมยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย ( คล้ายๆ กับการทำดีท็อกซ์)จึงช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส อีกทั้งความเป็นด่างของน้ำมะพร้าวยังช่วยปรับสมดุลของร่างกายในช่วงที่มีความเป็นกรดสูงทำให้กลไกการทำงานของระบบภายในเป็นปกติ ส่งผลให้มีสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก

ทาน  อาหารเป็นยา  อย่าทานยาให้เป็นอาหาร

Cr....ที่มา: www.stou.ac.th

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


ทำไม??คนกินมังสวิรัติถึงได้ยังเป็นโรคหลอดเลือดตีบ!!

#เรื่องนี้ไม่อ่านไม่ได้ !!!
              ว่า.......... อาหารเป็นยา นั้นเป็นอย่างไร ทานมากเกินไป ทานน้อยเกินไป ทานซ้ำๆ บ่อยๆ นานเกินไป เกิดโทษหรือเปล่า 
        เรื่องอย่างนี้ต้องเข้าใจกระบวนการจัดการในร่างกายอย่างน้อยก็มีมุมมองในเรื่องโภชนาการอย่างถูกต้อง และเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญสำหรับคนยุคสมัยนี้ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายสารเคมี การปรุงแต่งต่าง ๆ ลงไปในอาหารเพื่อการตลาด เพื่อสร้างแรงกระตุ้นสิ่งเร้าให้เราเสพอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง เพียงลิ้มลองอาจนำพาซึ่งโรคร้ายในภายหน้าได้
 


นับเป็นเรื่อง ที่น่าสนใจและเกิดคำถามมากสำหรับคนที่รับประทานอาหาร มังสวิรัติว่าทำไมคนจำนวนหนึ่งยังเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ได้ ทั้งๆที่คนเหล่านั้นไม่รับประทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์       ตัวอย่างเช่น เจ้าตำรับสูตรอาหารชีวจิต เน้นการรับประทานธัญพืช ผัก ปลาบ้างเล็กน้อย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ อย่าง   **ดร.สาทิส อินทรคำแหง** ได้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ !?


 
**พลตรีจำลอง ศรีเมือง** ผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติมาอย่างยาวนานหลายสิบปี ปฏิบัติธรรมถือศีลเคร่งครัด ปฏิบัติตามอิทธิบาทสี่ รับประทานอาหารมื้อเดียว ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน และล้างพิษตับด้วย แต่ปรากฏว่าพบหลอดเลือดตีบหรืออุด ตันบริเวณหัวใจถึง 3 เส้น จนต้องเข้ารักษาด้วยการทำบอลลูนจึงกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้    จึงเกิดคำถามว่าทำไมบุคคลสำคัญในด้านสุขภาพ 2 ท่านนี้จึงมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดตีบได้อย่างไร?
          จริงอยู่ที่ว่าการปฏิบัติตนดูแลสุขภาพไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด มนุษย์เราก็ไม่สามารถเป็นอมตะนิรันดร์กาลได้ และเราทุกคนก็มีอายุขัยของตัวเองไม่เท่ากันซึ่งแล้วแต่บุญกรรมที่ทำมา และวันใดที่เราหมดอายุขัยเราทุกคนก็ต้องเป็นเจ็บป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่งก่อน ที่จะจากโลกนี้ไป เพียงแต่การที่เราเข้าใจในบางเรื่องทียังไม่เข้าใจในวันนี้ก็จะทำให้เรามี โอกาสช่วยเหลือคนอื่นให้ได้ดีมากขึ้น   
คนส่วนใหญ่ในยุคนี้ มักจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันพืชในการทำ อาหาร ได้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ธัญพืช ผัก ข้าว ไข่ไก่ โดยส่วนใหญ่น้ำมันพืชที่เราใช้ในการทำ ความร้อนนั้นก็ล้วนแล้วแต่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าว โพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา ฯลฯ  น้ำมันพวกนี้เมื่อมีความไม่อิ่มตัวสูง ก็จะเปิดช่องทำให้เกิดการทำ ปฏิกิริยา กับออกซิเจนได้ง่ายหรือที่เรียกว่าออกซิเดชั่นทำให้เกิดการหืนได้ง่าย หรือ เมื่อโดนความร้อนก็จะทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนเกิดเป็นไขมันทรานส์ อันเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการอักเสบและอุดตันของหลอดเลือด รวมถึงโรคมะเร็งได้ด้วย
ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้คนไทยสมัยก่อนที่ใช้น้ำมันอิ่มตัว ทั้งน้ำมันมะพร้าว กะทิ และน้ำมันหมู กลับไม่พบอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดมากเหมือนคน ปัจจุบัน  จากความเดิมในหลายตอนที่ผ่านมาได้นำเสนอมาแล้วว่าการเกิดของโรคหัวใจไม่สัมพันธ์กับปริมาณคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดแต่ประการใด
          งานวิจัยเมื่อปี พ.ศ. 2537 ที่ได้เคยเกิดงานวิจัยครั้งใหญ่จากการสำรวจสถิติกลุ่มตัวอย่างถึง 3,641 คน โดยนักวิชาการมหาวิทยาลัยแห่งเพนซิลวาเนีย เมืองฟิลาเดเฟีย มลรัฐเพนซิลวา เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคอเลสเตอรอลและโรคหัวใจ ซึ่งจัดทำโดย Kinosian, B; Click, H; and Garland, G.1994 ในหัวข้อ “Cholesterol and coronary heart disease: Predicting risks by levels and ratios.” ตีพิมพ์ใน Ann. Internal Med. 121:641-7 ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ให้คำตอบกว่าการกำหนดปริมาณเกณฑ์การใช้คอเลสเตอ รอลใน กระแสเลือดที่อ้างว่าจะทำให้เกิดโรคหัวใจนั้นไม่สามารถชี้ชัดได้เลย และเมื่อเก็บสถิติแล้วกลับพบว่าความเสี่ยงต่อโรคหัวใจน่าจะใช้วิธีอื่นวัด น่าจะถูกต้องมากกว่า
 ความสัมพันธ์ที่สำคัญที่จะต้องพิจารณาเสมอคือปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ต้องไม่เกิน 5 เท่าของ HDL (High Density Lipoprotein) หรือที่วงการแพทย์มักเรียกว่าไขมันชนิดดี หมาย ถึงว่ายิ่ง HDL เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ อัตราการความเสี่ยงเกิดปัญหาเรื่องการอุดตันของหลอดเลือดหรือหลอดเลือดตีบก็ จะลดลงไปด้วย  เป้าหมายการลดหรือป้องกันโรคหลอดเลือดตีบและหัวใจ จึงไม่ใช่การลดคอเลสเตอรอล (เพราะคอเลสเตอรอลมีความจำเป็นต่อร่างกายและส่วนใหญ่เกือบ 80% ร่างกายเราสังเคราะห์เองจากตับ) แต่เราต้องหาทางเพิ่ม HDL ให้มากขึ้น
การเพิ่ม HDL จากการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ใน J.Manag .Care Pharm 2008 พบว่า high trigly cerides และ low HDL- cholesterol ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคหัวใจ การทำให้คนไข้ LDL ต่ำเหลือประมาณต่ำกว่า 130 การเป็นโรคหัวใจก็ไม่ลดลง แต่พบว่าการเพิ่ม HDL การเป็นโรค หัวใจ ก็ลดลงทันที   มีรายงานวิจัยการเพิ่ม HDL-C ลงพิมพ์ใน Postgrand.Med.J.ปี 2008 พบว่า การเพิ่ม HDL –C เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการลดอัตราการเป็นโรคหัวใจในคนไข้ ซึ่งการรักษาตัวยา Statin LDL ต่ำมากแล้ว อาการก็ยังไม่ดีขึ้น แต่ถ้าเพิ่ม HDL แล้ว คนไข้โรค หัวใจ และ โรคต่างๆกินน้ำมันมะพร้าวเพิ่ม HDL ได้ดีกว่าทั้งหมด
          ทั้งนี้น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันชนิดเดียวในโลกที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก ที่สุด และเป็นกรดไขมันสายสั้นและปานกลางมากที่สุดในโลก จึงทำให้ดูดซึมสร้างพลังงานให้กับตับได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้อัตราการเผาผลาญเป็นพลังงานสูงขึ้น เมื่ออัตราการเผาผลาญสูงขึ้น ตับก็จะผลิต HDL เพื่อไปเก็บคอเลสเตอรอลและ LDL ตามหลอดเลือดส่งมายังที่ตับ เพื่อนำคอเลสเตอ รอลเหล่านั้นไปผลิตเป็น ฮอร์โมนหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย น้ำดี และเยื่อหุ้ม เซลล์ เหตุเพราะการเผาผลาญในร่างกายสูงขึ้น  ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น น้ำมันมะพร้าวจึงเป็นน้ำมันที่ทำให้เพิ่ม HDL โดยตรง และสามารถลดอัตราความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดตีบและอุดตันได้!!!
หลายคนรู้เพิ่มมากขึ้นในวันนี้ว่าการบริโภคไขมันอิ่มตัวจากเนื้อสัตว์ ในยุคนี้ก่อให้เกิดโรคมากมายมหาศาลจึงได้หยุดรับประทานไป โดยเฉพาะวงการปศุสัตว์ทั้งหลายที่มีสารพิษตกค้างจากยาเคมี ฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะ สารเร่งเนื้อแดง ฟอร์มาลีน ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดโรคร้ายตามมาได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะโรคมะเร็ง แต่เมื่อหลายคนงดเนื้อสัตว์จึงต้องหันไปบริโภคโปรตีนจากธัญพืชแทน  ธัญพืชที่เราบริโภคส่วนใหญ่นั้นก็ล้วนแล้วแต่มีกรดไขมันที่เริ่มไม่ อิ่มตัวตำแหน่งที่ 6 (ตำแหน่งคาร์บอนแขนคู่ทำให้เริ่มตำแหน่งไม่อิ่มตัวตำแหน่งที่ 6) ที่เรียกว่า "กรดไลโนเลอิก" หรือที่เรียกว่า โอเมก้า 6 เป็นจำนวนมาก และจะยิ่งมากขึ้นไปอีกด้วยการใช้น้ำมันไขมันที่ได้จากธัญพืชส่วนใหญ่ก็มีโอ เมก้า 6 อยู่ในระดับสูงด้วย คราวนี้ก็จะเกิดความไม่สมดุลในการบริโภคกรดไขมันถึง 2 ชั้น ทั้งจากธัญพืชที่เราบริโภคแทนโปรตีน และจากน้ำมันจากธัญพืชที่นำมาผัดหรือทอด  ผลก็คือคนที่หันมาทานมังสวิรัติในลักษณะเช่นนี้ ก็จะมีกรดไขมันไลโนเลอิก หรือ โอเมก้า 6 มากเกินไปจนขาดสมดุล ผลที่ตามมาเมื่อเกิดการอักเสบของหลอดเลือดจากกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวหลาย ตำแหน่งเกิดทั้งอนุมูลอิสระได้มากและเกิดไขมันทรานส์ได้ง่าย
ถ้ามีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 6 มากเกินไปมากๆ ผลก็คือผนังหุ้มเซลล์จะเสียหายอย่างรุนแรงและปลดปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า Cytokines ออกมาทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังอย่างรุนแรง หลังจากนั้นจะพยายามรักษาตัวเองด้วยการหยุดการอักเสบนั้นด้วยการ นำไขมัน ลิ่มเลือด และแคลเซียมไปพอก หลอดเลือดจะแข็งตัว เมื่อพฤติกรรมการบริโภคเช่นนี้ปล่อยไว้ยาวนานขึ้นก็ทำให้หลอดเลือดอุดตันได้ ในที่สุด
นักโภชนาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าเราจำเป็นต้องบริโภคให้เกิดความสมดุล ของกรดไขมันด้วย โดยสัดส่วนที่เหมาะสมก็คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวของโอเมก้า 6 นั้น ควรมีสัดส่วนไม่เกิน 4 เท่าตัว ของ กรดไลโนเลนิค หรือ กรดไขมันอิ่มตัวที่เริ่มไม่อิ่มตัวในตำแหน่งคาร์บอนที่ 3 ที่เรียกกันว่า โอเมก้า 3 ซึ่งมีในน้ำมันปลา สาหร่ายบางชนิด และ ธัญพืชบางชนิดที่ขึ้นในอุณหภูมิเย็นๆ
โดยเชื่อว่าน้ำมันที่เป็นโอเมก้า 3 นั้นจะลดการอักเสบของหลอดเลือด ส่งผลทำให้ลดคอเลส
เตอรอลที่พอกตามหลอดเลือด ลดลิ่มเลือด แต่ถ้ารับประทานมากเกินพอดีก็จะทำให้เลือดเหลวอ่อนตัว แข็งตัวยาก
ดังนั้นสัดส่วนที่เหมาะสมในการบริโภคคือ กรดไขมันโอเมก้า 6 ไม่ควรเกิน 4 เท่าของกรดไขมันโอเมก้า 3  แต่เมื่อลองพิจารณาน้ำมันถั่วเหลืองกลับปรากฏว่า มีปริมาณโอเมก้า 6 สูงมากถึง 54% และมีโอเมก้า 3 เพียง 7 % หมายความว่า มีโอเมก้า 6 สูงกว่าโอเมก้า 3 ถึง 7 เท่าตัว  น้ำมันดอกทานตะวันอันตรายหนักไปกว่านั้น คือ มีปริมาณโอเมก้า 6 สูงถึง 68% และมีโอเมก้า 3 เพียง 1% หมายความว่า มีโอเมก้า 6 สูงกว่าโอเมก้า 3 ถึง 68 เท่าตัว น้ำมันงา มีปริมาณโอเมก้า 6 อยู่ในระดับสูงถึง 45% โดยที่ไม่มีโอเมก้า 3 เลย
แม้น้ำมันรำข้าวจะจัดว่าเป็นเป็นน้ำมันชนิดที่ค่อนข้างดี เพราะมีวิตามินอีต้าน อนุมูลอิสระสูง ทั้งในกลุ่มโทโคฟีรอล และไทโคโตรอีนอล และโอรีซานอล ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก มาย แต่น้ำมันรำข้าวก็ยังไม่เหมาะกับการผัด ทอด หรือโดนความร้อนอยู่ดี เพราะอย่างไรเสีย น้ำมันชนิดนี้ก็ยังเป็นไขมันไม่อิ่มตัว รวมกันสูงถึง 82% โดยเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งสูงถึง 37% และเป็นไขมันไม่อิ่มตัว 1 ตำแหน่งอีก 45% หากโดนความร้อนก็จะทำให้อนุมูลอิสระเข้าโจมตีได้ และหากนำมาผัดทอดซ้ำในอุณหภูมิสูงก็เกิดไขมันทรานส์ได้ และทำให้เกิดการอักเสบ ของหลอดเลือดได้เช่นกัน
แต่นักชีวเคมีชื่อดัง ดร.เรย์ พีท จากมหาวิทยาลโอเรกอน สหรัฐอเมริกา โต้แย้งว่า น้ำมันที่เรียกว่า โอเมก้า 3 หรือกรดไลโนเลนิกที่หลายคนตามหาเพราะคิดว่ามีประโยชน์นั้น แท้ที่จริงแล้วกรดไขมันชนิดนี้ก็ไม่อิ่มตัวเช่นกัน กรดไขมันเหล่านี้เกิดขึ้นในอุณหภูมิที่เย็น ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ที่มีอุณหภูมิที่ร้อนกว่า จึงถูกอนุมูลอิสระทำลายจนหมดสิ้น เป็นที่ทราบดีว่าโอเมก้า 3 มีมากในปลา แต่ปรากฏว่างานวิจัยของ Brouwer และคณะ พ.ศ. 2552 และ Saravanan และคณะ พ.ศ. 2553 ของมหาวิทยาลัยแห่งวาเก็นนิงเก้น แห่งประเทศเนเธอร์ แลนด์ ได้ศึกษาชายหญิงอายุเกิน 55 ปี จำนวน 5,299 คน อยู่ชานเมืองอัมเสตอร์ดัมพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ชอบกินปลาและไม่ชอบกินปลาไม่ มีผลต่อความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ต่อมาผู้วิจัยได้ตีพิมพ์ผลงานในวารสารโรคหัวใจแห่งยุโรป สรุปว่า "กรดไขมันจำเป็นที่เป็นโอเมก้า 3 ที่มีอยู่ในน้ำมันปลา จะมี สรรพคุณช่วยป้องกันโรคหัวใจ เหมือนกับที่มีข่าวว่ามันช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้นั้น ไม่เป็นความจริง!!!"  แต่ลองคิดดูว่าปกติคนที่ชอบรับประทานเนื้อสัตว์มาก ก็ต้องใช้ความร้อนสูงกว่าการผัดทอดผักหรือธัญพืช เพราะต้องการทำให้สุกจึงต้องใช้น้ำมันมาก ในบางกรณีต้องทอดจนน้ำมันท่วม ยิ่งใช้ความร้อนสูงน้ำมันเหล่านี้ก็จะกลายเป็นไขมันทรานส์และเป็น สารก่อมะเร็งได้ในที่สุด
สรุปว่าเราเลือกบริโภคธัญพืชมากแล้วผัดหรือทอดด้วยน้ำมันพืชไม่ อิ่มตัว หลายตำแหน่ง (น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา ฯลฯ) ก็มีโอกาสทำให้หลอดเลือดอักเสบ ตีบ และอุดตันได้ทั้งนั้น แต่ถ้ารับประทานกับเนื้อสัตว์มากนอกจากจะมีโอกาสทำให้หลอดเลือดอักเสบแล้ว ยังจะได้โรคมะเร็งตามมาได้ด้วย  การอักเสบของหลอดเลือดนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากเฉพาะไขมันไม่อิ่มตัวหลาย ตำแหน่งที่ผ่านกรรมวิธีหรือผ่านความร้อนสูงเท่านั้น (เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด ด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา ฯลฯ) แต่ยังรวมถึงการอักเสบจากการบริโภคน้ำตาลมาก ทั้งจากการรับประทานหวานมาก หรือรับประทานอาหาร พวกแป้งขัดขาวมากเกินไปได้ด้วย
ถ้าเราพิจารณาจาก **ดร.สาทิส อินทรกำแหง** ใช้สูตรชีวจิต โดยเน้นเรื่องการบริโภคโปรตีนจากธัญพืชในสัดส่วนค่อนข้างมาก ซึ่งย่อมหมายความว่าการบริโภคเช่นนี้ย่อมมีสัดส่วนของโอเมก้า 6 ค่อนข้างโดดมาก
ในขณะที่ **พลตรีจำลอง ศรีเมือง** รับประทานโปรตีนจากธัญพืชเช่นกัน เดิมใช้น้ำมันถั่วเหลืองมาอย่างยาวนาน ต่อมาใช้น้ำมันรำข้าว ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งทั้งสิ้น และชอบรับประทานอาหารรสจืดโดยไม่ใส่เครื่องเทศใดๆ
ชาวอินเดียที่รับประทานอาหารมังสิวิรัติมาก แม้จะบริโภคโปรตีนจากธัญพืชค่อนข้างสูง แต่พวกเขาก็รับประทานควบคู่ไปกับเครื่องเทศ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าผักและผลไม้ อันเป็นการลดข้อด้อยของธัญพืชที่มีกรดไขมัน้ำมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งที่ เปิดช่องให้อนุมูลอิสระโจมตีได้มาก
การวัดค่าสารต้านอนุมูลอิสระนั้นสามารถวัดได้หลายวิธีและยังมีข้อถก เถียงกันอยู่ แต่การวัดวิธีหนึ่งที่เรียกว่า Oxidation Radical Absorbance Capacity (ORAC) ซึ่งจัดทำฐานข้อ มูลในองค์กรในเครือข่ายโดย USDA ของสหรัฐอเมริกา ได้เคยจัดอันดับเมื่อปี พ.ศ. 2555 ว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่มากที่สุด พบว่าส่วนใหญ่อยู่ใน "เครื่องเทศ" และ "สมุนไพร" เช่น เมล็ด ซูแมค ( Sumac: สมุนไพรของชาวตะวันออกกลาง) มีค่า ORAC สูงถึง 312,400 μmol ต่อ 100 g, กานพลู มีค่า ORAC สูงรองลงมาคือ 290,283 μmol ต่อ 100 g, เครื่องเทศ ออการีโน มีค่า ORAC 175,295 μmol ต่อ 100 g  ส่วนที่เรารู้จักกันดีในภูมิภาคนี้ก็คือ อบเชย (อันดับ 7) มีค่า ORAC 131,240 μmol ต่อ 100 g, ขมิ้น (อันดับ มีค่า ORAC 127,068 μmol ต่อ 100 g
อันที่จริงมีเครื่องเทศอีกหลายชนิดของไทยที่ไม่ได้มีโอกาสตรวจวัดค่า ORAC แต่เครื่อง เทศ เช่น หัวหอม กระเทียม พริก พริกไทยดำ ต่างมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงทั้งสิ้น ซึ่งคนอินเดียที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์จึงมักรับประทานกับธัญพืชควบคู่ไป กับเครื่องเทศและสมุนไพรด้วย ด้านหนึ่งเป็นการขับลม อีกด้านหนึ่งคือลดทอนข้อด้อยของกรดไขมันไม่อิ่มตัวจากธัญพืชที่เปิดโอกาสให้ อนุมูลอิสระโจมตีมาก
 
ในความเห็นของผมจากการศึกษางานวิจัยหลายชิ้นจึงสรุปสำหรับการป้องกันโรคหัวใจจาการบริโภคว่า
 
1) เราควรใช้น้ำมันมะพร้าว ซึ่งมีกรดไขมันอิ่มตัวสูงที่สุดในการผัดหรือทอดอาหาร เพื่อป้องกันไม่ใช้น้ำมันที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่น โดยเฉพาะคนที่รับประทานมังสวิรัติที่ได้มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า 6 ซึ่งบริโภคจากโปรตีนจากธัญพืช ควรต้องใช้น้ำมันมะพร้าวสำหรับการผัดทอด และควรดื่มสกัดเย็นในช่วงเช้าเพื่อเพิ่มปริมาณ HDL ให้สูงขึ้น
2) แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงเรื่องน้ำมันโอเมก้า 3 ว่าดีจริงหรือไม่ เราควรสลับรับประทานกรดไขมันชนิดอื่นบ้าง เช่น งาขี้ม้อน สาหร่ายเกลียวทอง ฯลฯ เพื่อให้ได้โอเมก้า 3 มาลดสัดส่วนของ โอเมก้า 6 บ้าง
3) การรับประทานอาหารที่เน้นธัญพืชที่มาแทนเนื้อสัตว์ ควรพิจารณาในการรับ ประทานควบคู่กับเครื่องเทศด้วย เพื่อเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระและลดข้อด้อยของกรดไขมันจากธัญพืชเหล่านั้นที่ ไม่อิ่มตัวมาก
4) ควรลดแป้งและน้ำตาลให้น้อยลง และควรทานผักให้มากขึ้น โดยต้องเข้าใจว่าไม่ว่าโปรตีนและไขมันต่างก็ออกฤทธิ์เป็นกรดทั้งสิ้น ไม่ว่าในรูปของ แป้ง น้ำตาล ไขมันและโปรตีน จึงควรรับประทานให้สัดส่วนของอาหารที่พอดีพอเพียง นั่นก็คือพยายามรับประทานผัก ผลไม้ ที่ให้ฤทธิ์ด่างให้มากขึ้นนั่นเอง และควรดื่มน้ำให้มากพอ 8 แก้วต่อวัน
 
 
ทำไมคนกินมังสวิรัติถึงได้ยังเป็นโรคหลอดเลือดตีบ-6-th.html