สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องหาเอง เริ่มจากอาหาร สมุนไพรเป็นยา

สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องหาเอง เริ่มจากทำอาหารเป็นยา เลือกสมุนไพรเป็นอาหาร

ไขมันพอกตับ ภัยตัวที่ 2



ไขมันพอกตับคืออะไร

             ปัจจุบันไขมันพอกตับกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่จะทำให้ตับทำงานผิดปกติและอาจกลายเป็นตับแข็งในที่สุด  จากข้อมูลทางคลีนิคพบว่าคนอ้วนและผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ มีภาวะไขมันพอกตับสูงถึง 50% และ 57.7% ตามลำดับ ส่วนผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้น มีประมาณ 25% เป็นไขมันพอกตับ และสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นคือไขมันพอกตับส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยจึงมักจะไม่รู้ตัวหรือไม่ใส่ใจในการรักษา

ไขมันพอกตับคืออะไร...

            ไขมันพอกตับใช่ว่าจะมีไขมันพอกอยู่บนตับ หากแต่หมายถึงการสังเคราะห์ไขมันในตับผิดปกติ ทำให้ไขมันโดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์ที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับมีน้ำหนักเกิน 5 % ของตับ ซึ่งจะทำให้ตับทำงานผิดปกติ ตับอักเสบ  และอาจพัฒนาเป็นตับแข็งในที่สุด ไขมันพอกตับสามารถแบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระยะดังนี้:

ระยะแรก:     ไขมันที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับมีน้ำหนักประมาณ 5~10% ของตับ
ระยะกลาง:   ไขมันที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับมีน้ำหนักประมาณ 10~25% ของตับ
ระยะรุนแรง:  ไขมันที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับมีน้ำหนักประมาณ 30% ของตับ


        ไขมันพอกตับ  ส่วนใหญ่จะตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อรักษาโรคอย่างอื่นทั้งนี้ เนื่องจากผู้ป่วยไขมันพอกตับในระยะแรกหรือแม้กระทั่งพัฒนาเป็นตับอักเสบหรือตับแข็งแล้ว ส่วนใหญ่ก็ยังไม่แสดงอาการ
        ไขมันพอกตับ เกิดจากสาเหตุอะไร ไขมันพอกตับเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การสังเคราะห์ไขมันของตับผิดปกติ โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ตับอักเสบจากไวรัส การขาดสารอาหาร ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การตั้งครรภ์ เป็นต้น ไขมันพอกตับมีอาการอย่างไร ผู้ป่วยไขมันพอกตับกว่า 50% ไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นไขมันพอกตับระยะแรก แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา ภาวะไขมันพอกตับก็จะรุนแรงขึ้นผู้ป่วยอาจมีอาการต่างๆดังนี้:

- รู้สึกอึดอัดหรือปวดแน่นบริเวณชายโครงด้านขวา

- เบื่ออาหาร รู้สึกท้องอืดท้องเฟ้อคล้ายอาหารไม่ย่อย

- ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ

- อ่อนเพลียง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง

- ในรายที่รุนแรงอาจมีอาการดีซ่าน(ผิวเหลืองและตาเหลือง) หรือคลื่นไส้ อาเจียน

- ตรวจพบค่าเอ็นไซม์ตับ SGPT, SGOT สูงขึ้น(แสดงว่าตับมีการอักเสบ)

- ระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

          แต่อย่างไรก็ตาม ระดับความรุนแรงของไขมันพอกตับไม่อาจวัดด้วยระดับความรุนแรงหรือจำนวนมากน้อยของอาการ   เนื่องจากบ่อยครั้ง ไขมันพอกตับจนเป็นตับแข็งแล้ว ผู้ป่วยก็ยังไม่รู้่สึกมีอาการ ไขมันพอกตับอันตรายเพียงใด   ทำให้ตับทำงานผิดปกติ ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในร่างกายและเป็นเสมือนโรงงานเคมีของร่างกายทำหน้าที่สำคัญหลายๆ อย่าง เช่น กักเก็บสารอาหาร สังเคราะห์โปรตีนโคเลสเตอรอลและวิตามิน  ผลิตน้ำดีเพื่อย่อยอาหารประเภทไขมัน ควบคุมการสันดาปของฮอร์โมน ผลิตสารที่นำเกล็ดเลือดไปห้ามเลือด เมื่อผนังหลอดเลือดได้รับบาดเจ็บและกำจัดสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย ฯลฯ
          เมื่อมีไขมันจำนวนมากแทรกอยู่ในเซลล์ตับจะทำให้โครงสร้างภายในของตับแปรเปลี่ยนไป ย่อมจะทำให้ตับทำงานผิดปกติและส่งผลกระทบทั่วทั้งร่างกาย  ส่งผลกระทบต่อผลการรักษาของโรคเรื้อรังต่างๆ   ไขมันพอกตับใช่ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นมาเดี่ยวๆ หากแต่เป็นผลพวงของโรคประจำตัวต่างๆ เช่น
เบาหวาน ตับขาดสารอาหาร ตับอักเสบจากไวรัส เป็นต้น ผู้ป่วยไขมันพอกตับจึงมักจะอยู่คู่กับโรคเรื้อรังหลายอย่าง เช่น  โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงหลอดเลือดหัวใจตีบ เกาต์ นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น ไขมันพอกตับนอกจากไปเพิ่มความรุนแรงของโรคเรื้อรังเหล่านี้แล้ว ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลการรักษาของโรคเรื้อรังเหล่านี้ไม่ดีเท่าที่ควร รวมทั้งยากต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของตับให้กลับสู่ภาวะปกติด้วย     อาจกลายเป็นตับแข็งในที่สุด

          หากไขมันพอกตับไม่มีการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้ตับอักเสบและกลายเป็นตับแข็งในที่สุด ยาลดไขมันในเลือดสูงสัมพันธ์กับไขมันพอกตับอย่างไร  โคเลสเตอรอลในร่างกายคนเรา 80% ขึ้นไปสังเคราะห์จากตับ การใช้ยาแผนปัจจุบันเพื่อลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดเป็นประจำอาจไปกดการทำงานของตับไม่ให้ปล่อยโคเลสเตอรอลเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้ตับสำลักไขมันจนเกิดไขมันพอกตับได้
          ดังนั้น  การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อลดการใช้ยา จึงเป็นหนึ่งในวิธีสำคัญของการป้องกัน และบรรเทาภาวะไขมันพอกตับได้ วิธีป้องกันและบรรเทาไขมันพอกตับในชีวิตประจำวัน
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้ถูกสุขลักษณะจะช่วยป้องกันและบรรเทาและบรรเทาภาวะไขมันพอกตับได้
- ควบคุมอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ลดการรับประทานอาหารไขมันสูง น้ำตาลสูงโดยเน้นการรับประทานอาหารไขมันต่ำ น้ำตาลต่ำและโปรตีนสูงเป็นหลัก
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- งดสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- รักษาเบาหวานและภาวะไขมันในเลือดสูงอย่างจริงจัง
- หากการทำงานของตับเริ่มผิดปกติ (ค่า SGOT และ SGPT สูงขึ้น) ควรรักษาอาการอักเสบของตับอย่างทันท่วงที


อย่าลืมว่า ให้ใช้ อาหารเป็นยา เกิดประสิทธิผลต่อสุขภาพดีที่สุดในการป้องกันโรคภัย  ดีกว่าทานยาเมื่อเจ็บป่วยแล้ว

อย่าลืมว่า ให้ใช้ อาหารเป็นยา เกิดประสิทธิผลต่อสุขภาพดีที่สุดในการป้องกันโรคภัย  ดีกว่าทานยาเมื่อเจ็บป่วยแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น